วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระบบเครือข่าย


 
แบบฝึกหัดระบบเครือข่าย
 

1จงอธิบายความหมายของเครือข่ายพอเข้าใจ

เครือข่าย หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคล หรือ องค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ

2จงอธิบายความหมายของคำว่าอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
 

3จงอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้

แบบดาว

รูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างมาก จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบโดยมีอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรงในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอ การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้นรูปแบบโครงสร้างแบบดาว
รูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างมาก จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบโดยมีอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรงในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอ การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้นรูปแบบโครงสร้างแบบดาว
 
 

แบบวงแหวน

 
ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่ อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูล ออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ลักษณะการเชื่อมต่อ เป็นดังรูป
 

 


 

แบบบัส

 
  เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้ง
ระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ
50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้เหมือนกัน ลักษณะการเชื่อมต่อก็จะเป็นดังรูป
 

แบบทรีหรือแบบต้นไม้

 
มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่ง เครือข่ายแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
 

4จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ

 
 
 

1.โมเด็ม (Modem)

โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

 
 
 
 2. การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN
เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน
 
 
3. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


4. เราเตอร์ (Router)
เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
 
5. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย



6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical


7. สายสัญญาณ
เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
 

สาย Coax มีลักษณะเป็นสายกลม คล้ายสายโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย
 
 
 

8. ฮับ (HUB)
เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น การ์ดมีความเร็ว 100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้ แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

5จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ

 
5.1LaN
  LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็ก ๆ หรือระยะทำการไม่ไกลนัก เช่น เครือข่ายภายในออฟฟิศหรือสำนักงาน มีระยะทำการใกล้ ๆ และมักเชื่อมโยงกันด้วยความเร็วสูง เครือข่ายแบบนี้ยังถูกนำมาใช้เป็นเครือข่ายในบ้านของเราด้วย
5.2WAN
. Wan (Wide Area Network) คือเครือข่ายสำหรับเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ หรือเครือข่ายคนละชนิดที่อยู่ห่างไกลกันมาก ๆ เช่น คนละจังหวัด หรือคนละประเทศเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของ WAN ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
5.3Frame Relay
 Frame relay เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น (local area network) และระหว่างจุดปลายในเครือข่ายพื้นที่กว้าง (wide area network) frame relay วางข้อมูลในหน่วยที่มีขนาดแปรผันที่เรียกว่าเฟรม (frame) และเหลือการแก้ไขความผิดพลาด (การส่งผ่านข้อมูลใหม่) ที่จำเป็นจนถึงจุดปลาย ซึ่งเร่งความเร็วขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลทั้งหมด สำหรับบริการจำนวนมาก เครือข่ายให้วงจรเสมือนถาวร (permanent virtual circuit หรือ pvc
5.4Ethemet
 Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
5.5Intemet
 อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
5.6protocol

ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
5.7fiber optic
Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น)?Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"
 
5.8ATM
 
เครือข่าย ATM จะใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ สื่อที่ใช้ ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายไฟเบอร์ออปติค สายโคแอกเชียล หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึง 622 Mbps ATM ถูกพัฒนามาจากเครือ ข่าย Packet-switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่า packet ที่มีขนาด เล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละ packet ออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีก ครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง, ภาพเคลื่อนไหว
 
5.9VPN
 VPN หรือ Virtual Private Network หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบน เครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถ คงความเป็นเครือข่ายเฉพาะ ขององค์กรได้ ด้วยการ เข้ารหัสแพ็กเก็ตก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูล มีความปลอดภัยมากขึ้น
 

6จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายมา10คำศัพท์อธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษ

 
1.Bug ความหมาย : จุดบกพร่องหรือความผิดพลาดในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
: ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งในโปรแกรม ปัญหาดังกล่าวทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้องและมีข้อผิดพลาด นอกจากนี้ปัญหาความผิดพลาดอาจเกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน

 
 
 
2.Upload ความหมาย : คือ การส่งข้อมูลจาก เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะอยู่ไกลออกไป
 
3.Account ความ หมาย : บัญชีผู้ใช้ที่แต่ละแห่งอนุญาตให้เจ้าของบัญชี มีสิทธิ์ในการใช้บริการต่างๆ : เช่นถ้าเป็นบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จะหมายถึงผู้ใช้คนนั้นจะมีชื่อในการล็อกอิน (Login Name, User Name) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้

 
 
 4.Computer Network ความ หมาย : ระบบเครือข่าย, การเชื่อมต่อเส้นทางการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นทอดๆ ซึ่งอาจเป็นระบบเครือข่ายแบบปิด คือ การให้บริการเชื่อมต่อเฉพาะสมาชิกเท่านั้น หรือระบบเครือข่ายแบบเปิด อันหมายถึง การเปิดกว้างให้ผู้ใดก็ได้ใช้บริการในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหรือติดต่อ สื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 
5.Web Site ความ หมาย : คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เก็บ Web Page ต่างๆ หรือคือสถานที่ที่อยู่ของ Home page นั่นเอง มีความหมายเดียวกันกับคำว่า Website
 
6.Electronic Mail อักษรย่อ :E-Mail
ความ หมาย : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลที่มีการรับและส่ง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านเครือข่ายของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งไปได้ไกลทั่วโลก เร็วและประหยัด
 
7.routerในอินเตอร์เน็ต Router เป็นอุปกรณ์ หรือบางกรณีอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ใช้หาจุดต่อไปของเครือข่าย ที่แพ็คเกตสามารถส่งไปยังจุดหมายปลายทางได้ router ต้องต่อกับเครือข่ายอย่างน้อย 2 ข่าย และตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สารสนเทศของแพ็คเกต ซึ่งทราบสถานะของเครือข่ายแล้ว ที่ต้องการติดต่อถึง router เป็นตำแหน่งของเชื่อมต่อของเครือข่าย หรือ gateway รวมถึง Internet POP โดยปกติ router เป็นตำแหน่งของระบบสวิชต์ของเครือข่าย

8.CPU (Central processing unit) เป็นคำเก่าของตัวประมวลผลและไมโครโพรเซสเซอร์ โดยหน่วยประมวลผลกลางในคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรตรรกะ เพื่อประมวลผลคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

9.Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต



10hashing

hashing เป็นการปรับแปลงข้อความของตัวอักษรเป็นค่าความยาวตายตัวสั้นกว่าหรือคีย์ที่ นำเสนอข้อความดั้งเดิม hashing ได้รับการใช้เป็นดัชนี และรายการที่ดึงออกมาจากฐานข้อมูล เพราะเร็วกว่าในการค้นหารายการด้วยการใช้คีย์แฮชสั้นกว่าการค้นหาด้วยการใช้ ค่าดั้งเดิม รวมถึงการใช้อัลกอริทึมเข้ารหัส



วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่3 เรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


1คอมพิวเตอร์คืออะไร

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

 

2ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้ สมบูรณ์ที่สุด


3คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

  • ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที

  • ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

  • ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ

  • เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร

  • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ

4คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ มี 6 ประเภท คือ

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่





3.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer)


 



4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)ดังนี้ อียด

 


 


5.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )


6.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น


5งานด้านวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะอะไรจึงเลือกใช้คอมพิเตอร์ประเภทนั้น

ควรเลือกใช้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เพราะ เป็นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายลานตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอากาศทัง้ ระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้น บรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรืองานด้านการควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอากาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ


6ระบบจ้องห้องพักของโรงแรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น

มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)
เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง


7ระบบงานธนาคารควรเลือกใช้รคอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น

ควรเลือกใช้ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เพราะ มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น


8คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน๊ตบุ๊คจัดจัดอยู่ในเครื่องคอมประเภทใด

ควรเลือกใช้ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เพราะ มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น

9องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง


คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
4. บุคคลากร (Peopleware)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure

10ให้นักเรียนแต่ละคนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ




11ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียน



1)ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
2)เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนเพื่อหาความรู้ในการเรียนการค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

12ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่และนักเรียนคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องเรียนคอมพิวเตอร์หรือไม่

มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน
คิดว่ามีความจำเป็นเพราะ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ
2. เพื่อให้ผู้เรียนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบการทำงานด้านต่าง ๆ ได้
3. ผู้เรียนเข้าใจได้ว่าแต่ละงานหรืออาชีพต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างไรในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่1


 

 

1.    จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ

         1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
          1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
          1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
          1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
          1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ

 

 2.    เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร  เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารเทศได้อย่างไรบ้าง

        จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย

การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือ
          ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม
          และการสื่อสาร

 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
          ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโน
          โลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ

3.    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน อะไรบ้าง

 

มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

 

4.    จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง

แบบกลุ่ม

การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

 แบบเชื่อมตรง

 

การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

5.    ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง

1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ

2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช

3. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของฝุ่นและก๊าซ การกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจาก โรงงาน การป้องกันความเสียหายของโบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยว การป้องกันไฟไหม้ป่า เป็นต้น

4. ด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร เพศ อายุ การศึกษา แรงงาน ตำแหน่งของโรงเรียนและการเดินทางของนักเรียน เป็นต้น

5. ด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของประชากรของหมู่บ้าน ตำบล สินค้าหลัก ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ เป็นต้น

6.    ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง

ระบบสารสนเทศระดับบุคคลเช่น ชื่อ ที่อยู่ และความสนใจในตัวสินค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการขาย พร้อมกับระบบที่จะช่วยพนักงานแต่ละคนในการเรียกค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขเพื่อวางแผน จัดการ และควบคุมการทำงานของตนเองได้ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เป็นต้น

ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม  เช่น ลูกค้าโทรศัพท์มาถามคำถามหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า พนักงานอาจจะบันทึกข้อมูลการให้ทศระดับกลุ่ม บริการหรือการนัดหมายเพื่อตอบคำถามเพิ่มเติม

 ระบบสารสนเทศระดับองค์การ เช่น ฝ่ายการขาย ฝ่ายสินค้าคงคลัง ฝ่ายพัสดุ และฝ่ายการเงิน แต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติ


 

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติของผู้เขียนบล็อค


ประวัติของผู้เขียนบล็อค



ชื่อ-สกุล   มุกดารัตน์   คล้ายวิชิต


อายุ          16ปี


สูง167 เซนติเมตร


น้ำหนัก  43 กิโลกรัม


ที่อยู่ บ้านเลขที่120/1 ม.9 ต.ชะอวด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช


การศึกษาปัจจุบัน มัธยมศึกษาปีที่4/2